น้ำมันปลา
น้ำมันปลา (fish oil) กับน้ำมันตับปลา (Cod Liver Oil) ทั้งสองตัวมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว ชนิด omega-3 ซึ่งร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถสร้างเองได้ แต่สิ่งที่ต่างกัน คือ น้ำมันตับปลา (cod liver oil) มี วิตามิน A และ D เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย โดยสกัดจากตับของปลาทะเล เช่นปลาคอด หรือปลาเฮอร์ริ่ง ส่วนใหญ่รับประทานเพื่อเสริมวิตามินเอซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ และวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้ง ฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ร่างกาย ทำให้การสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ การบริโภคน้ำมันตับปลานั้นจะได้ในส่วนของน้ำมันปลา รวมถึงวิตามิน เอ และดี ในปริมาณที่สูง ดังนั้นผู้ที่รับประทานน้ำมันตับปลาปริมาณมากๆ อาจเสี่ยงต่อการได้รับพิษจากวิตามิน A และ D ได้ โดยอาจมีอาการความดันในสมองสูง ปวดศีรษะ หิวน้ำ และปัสสาวะบ่อย ฯลฯ ซึ่งเป็นผลข้างเคียง ที่เกิดจากการรับประทานมากเกินไป
ส่วนน้ำมันปลา (Fish Oil) จะสกัดมาจากส่วนหัว เนื้อ หนัง และหางของปลาทะเลน้ำลึก อาทิ ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันปลามีกรดไขมันที่ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างเองได้ แต่ที่มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายคือ
1.) กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega-3) เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated Fatty Acid) หรือ PUFA มี 2 ชนิด คือ
- Eicosapentaenoic acid (EPA) เป็นองค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการรักษาสมดุลระดับฮอร์โมนในร่างกาย EPA ช่วยลดระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย(LDL) ลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ลดความหนืดของเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลง ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ EPA ยังมีผลทำให้การรวมกลุ่มของเกร็ดเลือดลดลงในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมองจึงช่วยลดอาการปวดไมเกรนลงได้ EPA ยังช่วยลดอาการปวดอักเสบจากข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์อีกด้วย
- Docosahexaenoic acid (DHA) DHA เป็นองค์ประกอบหลักของเซลล์สมองโดยพบสูงถึง 40% ของกรดไขมันในสมองทั้งหมด และพบในเนื้อเยื่อชั้นในสุดของดวงตา(เรตินา) DHA ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์สมองและเส้นใยประสาทของเชลล์สมองที่เรียกว่า “เดนไดรท์” DHAเป็นสารอาหารจำเป็นต่อการพัฒนาและการทำงานของสมองและระบบปราสาทส่วนกลางและสายตา ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในการเรียนรู้ เสริมสร้างความจำ รวมถึงระบบสายตาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กวัยเรียนและคนวัยทำงาน DHA ยังช่วยป้องกันความเสื่อมของสมองและโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
2.) กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 (Omega-6) เป็นอีกหนึ่งกรดไขมันที่ร่างกายจำเป็นต้องรับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น กรดไขมันชนิดนี้เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ มีหน้าที่ส่งผ่านคำสั่งทางเคมีจากสมองสู่ร่างกาย มีผลในแง่บวกต่อในการลดไขมันในเลือด แต่ตัวนี้ก็พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
ประโยชน์ของน้ำมันปลาต่อสุขภาพ
1. ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์(triglyceride) ลดระดับความดันโลหิต ช่วยระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
2. มี DHA เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมอง ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบความจำ ป้องกันสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ ป้องกันโรคซึมเศร้า ลดความเครียด เพิ่มวุฒิภาวะทางอารมณ์
3. ช่วยเพิ่มระดับ HDL (ไขมันชนิดดี) ที่จะช่วยลดระดับ LDL (ไขมันชนิดร้าย) ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพหลอดเลือดและสุขภาพหัวใจ
4. มีส่วนช่วยในการป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรค เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคความจำเสื่อม
5. มีส่วนช่วยในการป้องกันข้ออักเสบ ปวดศีรษะ ไมเกรน และเบาหวาน
6. มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งโรค ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคไต และโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย
7. ลดอาการปวดอักเสบของโรคข้อเสื่อม และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
8. ลดอาการของโรคผิวหนังบางชนิด เช่น สะเก็ดเงิน โรคเรื้อนกวาง
9. ลดอาการหอบหืด ภูมิแพ้
10.บำรุงสมอง บำรุงสายตา เสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ เสริมความจำ
ถึงแม้น้ำมันปลาจะมีประโยชน์แต่ก็มีผลข้างเคียงของการบริโภคน้ำมันปลามากเกินไป คือ
- ในน้ำมันปลามีคุณสมบัติในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดและทำให้เลือดหยุดไหลช้าลงได้ ดังนั้นอาจต้องระมัดระวังการรับประทานน้ำมันปลาหรือน้ำมันตับปลาในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มสุรามากๆ ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือผู้ที่รับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน หรือ วอร์ฟาริน (warfarin) เป็นต้น เพราะจะยิ่งทำให้ความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกเพิ่มขึ้นอีก รวมถึงผู้ที่มีโปรแกรมต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานน้ำมันปลาก่อนถึงวันผ่าตัดอย่างน้อย 14 วัน และควรแจ้งแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดให้ทราบว่าตนเองรับประทานน้ำมันปลา หรือน้ำมันตับปลาอยู่ด้วย **ควรปรึกษาแพทย์ก่อน**
- น้ำมันปลากับแม่และ เด็กทารก ในการสร้างเซลสมอง ร่างกายจำเป็นที่จะต้องใช้ไขมัน 2 ชนิดคือ Omega-3 และ DHA ซึ่งพบมากในน้ำมันปลา (และในอาหารอื่นๆอีกหลายชนิด) แล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ DHA เพื่อสร้างเซลสมองต่อไป ซึ่งกระบวนการสร้างเซลสมองนี้ เกิดขึ้นในช่วงเด็กทารกจนถึงอายุประมาณ 5 ขวบ ดังนั้นจึงใช้น้ำมันปลาในการบำรุงเด็กเล็กๆ หรือตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยในอาหารเด็กหลายยี่ห้อ จะมีการผสมน้ำมันปลาลงไปด้วย แต่จากการศึกษาพบว่า น้ำมันปลามีส่วนช่วยเรื่องความจำได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กฉลาดกว่าปกติแต่อย่างใด และในเด็กเล็กๆ บางคนที่ไม่แข็งแรงก็อาจแพ้สารพิษจากน้ำมันปลาได้ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรกินน้ำมันปลาชนิดเม็ดหรือแคปซูลมากเกินไป ควรกินน้ำมันปลาธรรมชาติที่มีอยู่ในปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลากะพงแดง ฯลฯ รวมถึงธัญพืชต่างๆ อย่าง ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วอัลมอลต์ เมล็ดฟักทอง เป็นต้น เพราะในอาหารจะมีความสมดุลของกรดไขมันต่างๆ ที่เหมาะสม
สนใจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพของกิฟฟารีน !! คลิก !!
Sustainhealthy